Learning Materials for Early Childhood แฟ้มสะสมงานวิชา สื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 7 วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2553
*วันนี้อาจารย์ได้ให้ชีทเกมการศึกษาและอธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษา
เกมจับคู่ภาพกับความหมาย
จุดประสงค์ของเกมการศึกษา
-เพื่อให้เด็กได้รู้จักรูปภาพและความหมาย
คุณค่าของการเล่นเกม
-ฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านภาษาไทย
-ฝึกการสังเกตรูปภาพและความหมาย
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2553
การศึกษา
คือ การพัฒนา
นักทฤษฎีโคเบริค์ จะกล่าวถึง คุณธรรม จริยธรรม
เกมการศึกษา
คือ *เกมที่ก่อให้เกิดความรู้
*เกมการเล่นที่มีกฎกติกา
ความสำคัญ
*ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปร่าง
*ได้รับประสบการณ์ตรงจำได้นาน
*รวดเร็วเพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
*ต้องมีความปลอดภัย
*ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก,ความสนใจ
*ประหยัด
*ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อฯ
*คุณภาพ
*เด็กเข้าใจง่าย
*เลือกให้เหมาะกับสภาพของศูนย์
*เหมาะสมกับวัย
*เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
*เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
*ถูกต้องตามเนื้อหา,ทันสมัย
*เด็กได้คิดเป็นทำเป็น,กล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ (พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็ก และสื่อ)
-สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553
ได้นำเสนอเรื่องสื่อ
เกี่ยวกับสมุดฝึกหัดนับจำนวนสำหรับเด็ก
-เหมาะสำหรับเด็กในช่วงอายุ 3-4 ปี
วัตถุประสงค์
-ช่วยให้เด็กได้มีทักษะในด้านการนับจำนวน
-ช่วยให้เด็กได้มีทักษะในด้านความคิด
-และรู้จักรูปภาพต่างๆมากขึ้น
*สมุดฝึกหัดนับจำนวนสำหรับเด็กนี้จะอยู่ใน
มุมเสรี
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2553
การแบ่งประเภทของสื่อ
-ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-ตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน
กรวยประสบการณ์ตามแนวคิดของ เอ็ดการ์ เดล
ประกอบด้วย
-ประสบการณ์ตรง
-ประสบการณ์รอง
-ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
-การสาธิต
-การศึกษานอกสถานที่
-นิทรรศการ
-โทรทัศน์
-ภาพยนต์
-การบันทึกเสียง
-ทัศนสัญลักษณ์
-วจนสัญลักษณ์
*ประสบการณ์ตรง*
เป็นประสบการณ์ด้านที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยการให้ ผู้เรียนไดรับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง หรือด้วยการกระทำของตนเอง เช่น การจับต้องและมองเห็ห เป็นต้น
*ประสบการณ์รอง*
เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
*ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง*
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดในยุคสมัย
*การสาธิต*
เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
*การศึกษานอกสถานที่*
เป็นการให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่จริงอาจเป็นการท่องเที่ยว การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หือการสัมภาษณ์เหล่านี้ เป็นต้น
*นิทรรศการ*
เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
*โทรทัศน์*
โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจร
*ภาพยนต์*
เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหูหรืออาจจะเป็นการเห็นเพียงภาพเคลื่อนไหว
*การบันทึกเสียงวิทยุภาพนิ่ง*
เป็นได้ทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
*ทัศนสัญลักษณ์*
เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ
*วจนสัญลักษณ์*
เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
สรุป
1.เลือกสื่อการสอนที่สอกคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2.เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
3.เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4.เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน
5.เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6.เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
7.เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้ง 3 วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2553
สื่อ (กิริยา) หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน (นาม)
สื่อการศึกษา (นาม) วิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน หมายถึงอุปกรณืต่างๆ
ที่อาจเป็นวัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาวางแผนใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆ
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนเทคโนโลยีของการศึกษา เป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เดการเรียนรู้ เช่น วิดีทัศน์เป็นสื่อการสอน เพราะวิดีทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้กับนักเรียนเกิดการเรียนรู้
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ
คุณค่าสื่อการเรียนการสอน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ (ปาก ตา หู จมูก มือ)
- ทำให้เข้าใจบทเรียนเนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้ถูกต้อง
- ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียน และเกิดความประทับใจจำได้นาน
- ช่วยในการศึกษาหาความรู้สามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมความคิดการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
- ช่วยลดการบรรยายของครูผู้สอน
- ผู้สอนมีการตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
หลักการเลือกสื่อการสอน
1.สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง
3.เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัยระคับชั้นความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
4.สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5.ต้องเป้นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดีมีความชัดเจนและเป็นจริง
6.มีราคาไม่แพงจนเกินไปหรือถ้าจะผลิตเองหรือคุ้มกับเวลาและการลงทุน
ขั้นตอนในการใช้สื่อ
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฎิบัติ
4.ขั้นสรุปบทเรียน
5.ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การติดตามผล
หลักการใช้สื่อการเรียนและการวางแผน
-การเลือกดัดแปลงหรือออกแบบสื่อ (Select,Modify or Design Materials)
1.เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
2.ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่
3.ออกแบบสื่อใหม่
การใช้สื่อ(Utilize Materials)
-ดูหรืออ่านเนื้อหาเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
-จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์ เครื่องมือและสิ่งต่างๆ
-เตรียมตัวผู้เรียนโดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน
ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน 2553
สื่อการเรียนการสอน
สื่อ คือ ตัวกลางที่ถ่ายทอดไปยังผู้ฟัง ผู้รับจากผู้ส่งการ
-เด็กปฐมวัย = เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน
- 1. ด้านร่างกาย (Physical หรือ Psycho-motor development
- 2.ด้านสติปัญญา (Cognitive development)
- 3.ด้านจิตใจ-อารมณ์ (Emotional development)
- 4. ด้านสังคม (Social development)
- 5. ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual development)
ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดี ที่ 17 มิถุนายน 2553
อาจารย์ ปฐมนิเทศ
1.นักเรียนทุกคนมีใบรายชื่อ
2.ทำเล่มประวัติ 1เล่มสำหรับ1ห้องเรียน มีประวัติของนักศึกษาทุกคนในห้องเรียน
3.ทำ Blogger ของแต่ละคน นักศึกษาต้องบันทึกทุกครั้งว่าเรียนอะไรบ้างลงในบล็อกทุกสัปดาห์
บทความที่ใหม่กว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)